ผู้เขียน หัวข้อ: ฉนวนกันเสียง วัสดุกันเสียงรบกวนคืออะไร เลือกอย่างไรให้เหมาะกับบ้าน  (อ่าน 1067 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 134
    • ดูรายละเอียด
วัสดุกันเสียงรบกวนคืออะไร เลือกอย่างไรให้เหมาะกับบ้าน

หนึ่งในปัญหาผู้อาศัยคอนโดหรือห้องพักต่าง ๆ นั้น คงหนีไม่พ้นได้ยินเสียงดังจากห้องข้างเคียง วิธีแก้ที่ตอบโจทย์ที่สุดก็คือใช้วัสดุกันเสียงรบกวน โดยสิ่งนี้มีช่วยขจัดปัญหาเสียงรบกวนจากเพื่อนบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลองมาทำความรู้จักว่าวัสดุกันเสียงรบกวนคืออะไร มีแบบไหนบ้าง เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการเลือกซื้อมาใช้งานได้อย่างถูกต้องและเหมาะกับบ้านของเรา

วัสดุกันเสียงรบกวนคืออะไร
วัสดุกันเสียงรบกวน คือ สิ่งที่ช่วยกันเสียงจากสภาพแวดล้อมไม่ให้ผ่านทะลุวัสดุที่กั้นเอาไว้ได้ โดยวัสดุดังกล่าวไม่ได้มีลักษณะเป็นคอนกรีตหนาหรือกำแพงขนาดใหญ่ ทั้งนี้ วัสดุกันเสียงรบกวนจะเกี่ยวเนื่องกับองค์ประกอบและโครงสร้างของตึกหรืออาคารว่าสร้างจากวัสดุแบบใด มีประสิทธิภาพในการลดหรือกันเสียงลอดผ่านผนังได้มากน้อยแค่ไหน

วัสดุกันเสียงรบกวนมีกี่ประเภท
โดยทั่วไปแล้ววัสดุกันเสียงรบกวนผลิตออกมาหลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับว่าจะนำไปติดตั้งและใช้งานที่ส่วนไหนของที่อยู่อาศัย โดยจะแบ่งประเภทตามลักษณะวัสดุที่ใช้ผลิต ดังนี้

1. วัสดุกันเสียงรบกวน ประเภท Shumoplast
เนื้อวัสดุเป็นเม็ดเล็ก ๆ เคลือบด้วยสีอะคริลิก ผิวสัมผัสยืดหยุ่นคล้ายยางยืด มักนำมาใช้ทำเป็นฐานของพื้นลอย ถือเป็นวัสดุกันเสียงคุณภาพ เหมาะแก่การนำไปใช้กันเสียงบริเวณทั่วไปพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ภายในบ้าน วัสดุนี้จะช่วยลดเสียงดังรบกวนลงได้ประมาณ 32 เดซิเบล

ข้อดีคือกันน้ำ เนื้อวัสดุไม่เป็นพิษ ติดตั้งง่าย และใช้งานได้นาน ข้อเสียคือใช้เวลาติดตั้งนานพอสมควร เพราะต้องรอให้แห้งประมาณ 24 ชั่วโมง


2. วัสดุกันเสียงรบกวน ประเภทโฟม
เนื้อวัสดุทำจากโพลียูรีแทนโฟม มักนำไปใช้กันเสียงจากภายนอกไม่ให้เข้ามาข้างใน จึงเหมาะแก่การนำมาติดตั้งกันเสียงในห้องอัด สตูดิโอ หรือโรงภาพยนตร์ โดยช่างจะติดตั้งตามผนังและเพดานด้วยกาวแบบพิเศษหรือฟิล์มกาว

ข้อดีคือช่วยซับเสียงได้ร้อยละ 95 มีความยืดหยุ่นสูง และประสิทธิภาพการใช้งานสูงกว่าวัสดุกันเสียงรบกวนประเภทอื่น ส่วนข้อเสียคือเนื้อวัสดุก่อให้เกิดสารพิษได้หากจุดติดไฟและละลาย แนะนำว่าควรเลี่ยงการจุดไฟในห้องที่ติดตั้งวัสดุกันเสียงรบกวนประเภทโฟม และเลี่ยงไม่ให้โดนแสงแดด นอกจากนี้ วัสดุโฟมไม่รองรับน้ำหนักสิ่งของเท่าไหร่ จึงควรขนย้ายด้วยความระมัดระวัง


3. วัสดุกันเสียงรบกวน ประเภท Teksound
วัสดุประเภทนี้ทำจากแร่ มีคุณสมบัติกันเสียง โดยลดระดับเสียงรบกวนได้มากถึง 28 เดซิเบล

ข้อดีคือเนื้อวัสดุไม่หนามาก ประมาณ 0-4 เซนติเมตร เหมาะแก่การนำไปใช้ติดตั้งได้กับทุกสภาพพื้นผิว ติดตั้งง่ายและเร็ว ยืดหยุ่นสูง ทนทาน ข้อเสียคือราคาค่อนข้างแพง รวมทั้งต้องใช้วิธีการติดตั้งพิเศษในกรณีที่ติดตั้งบนพื้นคอนกรีต


4. วัสดุกันเสียงรบกวน ประเภทอะคูสติก
นับเป็นวัสดุกันเสียงรบกวนที่ช่วยทั้งเรื่องกันเสียงและใช้ตกแต่งเพื่อความสวยงามในคราวเดียว เนื้อวัสดุด้านนอกทำจากวีเนียร์ ซึ่งเหมาะแก่การดัดแปลงสำหรับตกแต่งห้องได้ทุกรูปแบบ จึงมักนำไปใช้ติดตั้งพื้นที่ภายในมากกว่า

ข้อดีคือไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งติดตั้งและปรับแต่งได้ง่ายกว่า ส่วนข้อเสียอย่างเดียวก็คือราคาแพง


5. วัสดุกันเสียงรบกวน ประเภทไอโซปลาสต์
เนื้อวัสดุทำจากไม้เนื้ออ่อนพิเศษ ช่วยลดระดับเสียงรบกวนได้ประมาณ 27 เดซิเบล อีกทั้งยังมีคุณสมบัติรักษาอุณหภูมิห้องด้วย

ข้อดีของวัสดุประเภทนี้คือเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ติดตั้งง่าย และเหมาะแก่การตกแต่งภายใน แต่ราคาค่อนข้างสูง รวมทั้งติดไฟได้ง่าย


6. วัสดุกันเสียงรบกวน ประเภทฉนวนใยหิน
วัสดุประเภทนี้ช่วยลดระดับเสียงรบกวนได้ร้อยละ 99 มักนำมาใช้กันเสียงจากภายนอก โดยนิยมติดตั้งกับพื้นผิวคอนกรีตและไม้ การใช้งานจะคล้ายกับวัสดุประเภท Shumoplast คือจะใช้ติดตั้งบริเวณพื้นที่ขนาดใหญ่ที่เป็นฐานหรือพื้นลอย

ข้อดีคือทนทานความร้อนสูง เนื้อวัสดุปราศจากเรซิน ติดตั้งง่ายโดยไม่ต้องกลึง ใช้งานได้นาน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่หดตัว ส่วนข้อเสียคือดูดซึมความชื้น ซึ่งอาจทำให้อับ จึงจำเป็นต้องเพิ่มวัสดุกันเสียงที่มีคุณสมบัติกันน้ำเข้ามาใช้ร่วมด้วย


7. วัสดุกันเสียงรบกวน ประเภทเมมเบรน
วัสดุทำจากฉนวนใยหินผสมโพลีเมอร์ มีลักษณะคล้ายฟิล์มพิเศษ นำไปใช้ได้กับทุกสภาพพื้นผิว

ข้อดีคือทนทานความร้อนได้สูง เหมาะแก่การติดตั้งกันเสียงทั้งด้านนอกและด้านในอาคาร เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ใช้งานได้ยาวนาน แต่อาจเสียตรงที่ราคาค่อนข้างแพง


8. วัสดุกันเสียงรบกวน ประเภทพลาสเตอร์พิเศษ
วัสดุประเภทนี้ผลิตจากองค์ประกอบหลายอย่าง จึงเหมาะแก่การกันเสียงและงานตกแต่ง โดยจะช่วยกันเสียงจากด้านในไม่ให้กระจายหรือเล็ดลอดออกไปด้านนอก การติดตั้งวัสดุกันเสียงประเภทนี้ควรเลือกติดตั้งให้หนาประมาณ 2-3 เซนติเมตร

ข้อดีคือช่วยตกแต่งซ่อมแซมสภาพพื้นผิวให้ดูดี วัสดุไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม และทนทานความร้อนได้สูง แต่วัสดุประเภทนี้ก็ติดตั้งยุ่งยากพอสมควร เพราะต้องวางเลเยอร์ของวัสดุประมาณ 2-3 ชั้นในการติดตั้ง รวมทั้งมีราคาแพง


9. วัสดุกันเสียงรบกวน ประเภท Shumoizol
มีลักษณะเป็นวัสดุสองชั้น มีคุณสมบัติกันเสียงดีเยี่ยม ทนทานต่อการกดทับ รวมทั้งนำไปใช้ติดตั้งกับผนังได้โดยไม่มีพลาสเตอร์บอร์ด นอกจากกันเสียงแล้ว ยังมีคุณสมบัติกันน้ำ ยืดหยุ่นสูง ทนความร้อนได้สูง และใช้งานได้ยาวนาน ส่วนข้อเสียคือมีราคาค่อนข้างสูง


10. วัสดุกันเสียงรบกวน ประเภทบอร์ดไฟเบอร์
วัสดุทำจากเส้นใยและซีเมนต์ มักนำมาใช้เป็นเพดานกันเสียงหรือวัสดุอะคูสติก อีกทั้งยังมีคุณสมบัติดูดซับเสียงดีเยี่ยม


ฉนวนกันเสียง วัสดุกันเสียงรบกวนคืออะไร เลือกอย่างไรให้เหมาะกับบ้าน อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://noisecontrol365.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 กันยายน 2023, 22:41:18 pm โดย siritidaphon »

 

Tage: โฟสฟรี ประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี google โพสต์ฟรี ลงประกาศขายบ้านฟรี ลงประกาศขายบ้าน ลงประกาศขายที่ดินฟรี ลงประกาศขายคอนโดฟรี ประกาศฟรี ขายฟรี ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google