ผู้เขียน หัวข้อ: หมอประจำบ้าน: บ้านหมุน (Vertigo)  (อ่าน 24 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 158
    • ดูรายละเอียด
หมอประจำบ้าน: บ้านหมุน (Vertigo)
« เมื่อ: 22 พฤศจิกายน 2024, 15:19:09 pm »
หมอประจำบ้าน: บ้านหมุน (Vertigo)

บ้านหมุน (Vertigo) เป็นอาการที่ผู้ป่วยรู้สึกเหมือนตัวเองหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัวหมุนแม้อยู่ในขณะยืนหรือนั่งอยู่กับที่ จนอาจเริ่มรู้สึกเวียนศีรษะ ไม่สามารถทรงตัวหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ตามปกติ

อาการบ้านหมุนสามารถพบได้ทุกวัย แต่จะพบได้มากในกลุ่มผู้สูงวัย โดยลักษณะอาการบ้านหมุนมักเกิดขึ้นแบบเป็น ๆ หาย ๆ ไม่ค่อยส่งผลกระทบรุนแรงใด ๆ ต่อร่างกาย แต่อาจเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการที่ผู้ป่วยสูญเสียการทรงตัวได้


อาการบ้านหมุน

อาการหลักของผู้ที่มีอาการบ้านหมุนคือ ความรู้สึกเหมือนว่าตัวเองหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัวกำลังหมุน ทั้งที่ไม่มีการเคลื่อนไหวใด ๆ โดยอาการอาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ช่วงไม่กี่วินาทีไปจนถึงหลายชั่วโมง หรือบางครั้งจะมีอาการเป็นพัก ๆ แล้วหายไป

ส่วนอาการอื่นที่มักเกิดร่วมด้วยจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ส่งผลให้เกิดอาการบ้านหมุน โดยอาการที่มักพบได้ เช่น เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เดินเซ ล้ม ทรงตัวไม่ได้ ตากระตุก ลูกตาเคลื่อนไหวผิดปกติ หูอื้อ หรือมีเสียงดังรบกวนในหู

อาการบ้านหมุนเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ หากเกิดอาการควรรีบไปพบแพทย์แต่เนิ่น ๆ โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการรุนแรง เช่น อาเจียนบ่อยจนไม่สามารถรับประทานอาหารได้ มีปัญหาการได้ยินร่วมกับอาการเวียนศีรษะ เดินเซและไม่สามารถควบคุมการทรงตัวได้ เป็นต้น

สาเหตุของบ้านหมุน

อาการบ้านหมุนเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน โดยสาเหตุที่พบได้บ่อยมักเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของอวัยวะการรับรู้ในหูชั้นในจากโรคต่าง ๆ เช่น

    โรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุด หรือโรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน (Benign Paroxysmal Positional Vertigo: BPPV)
    โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน (Meniere’s Disease) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของน้ำและแรงดันที่อยู่ภายในหูชั้นใน ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ หูอื้อ และการได้ยินลดลง
    โรคประสาทการทรงตัวอักเสบ (Vestibular Neuronitis) หรือประสาทหูชั้นในอักเสบ (Labyrinthitis) เป็นภาวะของประสาทหูชั้นในอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งการอักเสบของหูชั้นรอบ ๆ เส้นประสาทนี้จะส่งผลต่อระบบการทรงตัวของร่างกาย

ส่วนสาเหตุอื่นที่อาจพบได้ เช่น ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด ความเครียด โรคแพนิค การบาดเจ็บที่ศีรษะและบริเวณคอ โรคไมเกรน หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับสมอง เป็นต้น

การวินิจฉัยบ้านหมุน

แพทย์จะตรวจผู้ป่วยอย่างระมัดระวัง เนื่องจากอาการบ้านหมุนมีความซับซ้อน โดยจะสอบถามประวัติของผู้ป่วย อาการที่พบ ร่วมกับการตรวจร่างกายอย่างละเอียด เช่น ตรวจหู ตรวจการเคลื่อนไหวของลูกตาในลักษณะต่าง ๆ ตรวจระบบการทรงตัวของร่างกาย หรือทดสอบการทำงานของอวัยวะการทรงตัวด้วยการเปลี่ยนท่าทางอย่างรวดเร็ว เป็นต้น

นอกจากนี้ แพทย์อาจตรวจผู้ป่วยด้วยวิธีอื่นเพิ่มเติม ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยแต่ละคน เช่น

การตรวจการได้ยิน

ผู้ที่มีอาการหูอื้อ มีเสียงดังในหู หรือมีปัญหาการได้ยิน จะถูกส่งตัวไปตรวจกับแพทย์ผู้ชำนาญเฉพาะทาง โดยวิธีการตรวจที่ใช้ เช่น การใช้ส้อมเสียง (Tuning Fork)  หรือการใช้เครื่องทดสอบการได้ยิน เป็นต้น

การตรวจดูการทำงานเชื่อมต่อกันระหว่างหู ตา และสมอง (Caloric Testing)

วิธีการตรวจนี้ แพทย์จะใช้น้ำอุ่น น้ำเย็น หรือลมกระตุ้นการทำงานของอวัยวะการทรงตัวในหู

การตรวจการทรงตัว (Posturography)

แพทย์จะตรวจการทรงตัวของผู้ป่วยในภาวะต่าง ๆ เพื่อประเมินการทำงานร่วมกันของการมองเห็น การได้ยิน และการรับรู้ตำแหน่งของร่างกาย ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทรงตัว

ตรวจการทำงานของอวัยวะทรงตัวของหูชั้นใน (Videonystagmography : VNG)

แพทย์จะตรวจดูความผิดปกติของหูชั้นในและสมองส่วนกลางของผู้ป่วยด้วยการดูการกระตุกของลูกตาผ่านทางแว่นตา โดยผู้ป่วยจะได้สวมแว่นตาแบบพิเศษที่ติดกล้องเอาไว้ในระหว่างการทดสอบ และกลอกตาไปมาหรือมองไปในทิศทางต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบและบันทึกการเคลื่อนไหวของดวงตา

การตรวจสมอง

แพทย์อาจใช้การตรวจสมองด้วยคลื่นแม่เหล็ก (MRI Scan) หรือการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) เพื่อค้นหาเนื้องอก หรือสาเหตุต่าง ๆ ของอาการบ้านหมุน

การรักษาบ้านหมุน

ผู้ที่มีอาการบ้านหมุนอาจควบคุมและบรรเทาอาการด้วยตัวเองที่บ้านด้วยวิธีต่อไปนี้

    เคลื่อนไหวศีรษะอย่างช้า ๆ และระมัดระวังขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ
    เมื่อเริ่มมีอาการเวียนศีรษะควรนั่งพักทันที
    นอนโดยให้ศีรษะยกขึ้นสูงเล็กน้อยหรืออาจใช้หมอนหนุน 2 ใบ
    นอนพักผ่อนในห้องที่เงียบและมืดสนิท เพื่อบรรเทาอาการเวียนศีรษะ
    หากตื่นนอนขึ้นกลางดึกควรเปิดไฟ
    หลังตื่นนอนควรค่อย ๆ ลุกออกจากเตียงอย่างช้า ๆ โดยอาจนั่งพักที่ขอบเตียงสักครู่ก่อนลุกขึ้นยืน
    ใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงในการเดินเพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการลื่นล้มหรือเกิดอุบัติเหตุ
    ทำกิจกรรมที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย เนื่องจากความวิตกกังวลอาจทำให้อาการบ้านหมุนแย่ลงได้
    ไม่เงยศีรษะมากเกินไปขณะเอื้อมหยิบของที่อยู่สูง
    ไม่โน้มตัวลงเพื่อก้มเก็บของ โดยอาจค่อย ๆ นั่งย่อตัวลงเพื่อเก็บของแทน

สำหรับการรักษาทางการแพทย์ แพทย์จะพิจารณาให้เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละคน โดยวิธีที่อาจนำมาใช้ ได้แก่

การรักษาด้วยยา

แพทย์อาจสั่งจ่ายยาบางชนิดเพื่อบรรเทาอาการคลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ หรือความรู้สึกโคลงเคลงจากการเคลื่อนไหวศีรษะ เช่น ไดเมนไฮดริเนต (Dimenhydrinate) ยาซินนาริซีน (Cinnarizine) หรือยาเบตาฮีสทีน (Betahistine)

หากอาการบ้านหมุนของผู้ป่วยมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อหรือการอักเสบ แพทย์อาจสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะหรือยาสเตียรอยด์ เพื่อรักษาการติดเชื้อและบรรเทาอาการบวมตามลำดับ

การเคลื่อนตะกอนหินปูนเคลื่อนให้กลับเข้าที่ (Canalith Repositioning Maneuvers)

วิธีนี้ค่อนข้างปลอดภัย ได้ผลดี และเหมาะกับโรคที่พบบ่อยอย่างโรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุด โดยแพทย์จะให้ผู้ป่วยขยับศีรษะและคอด้วยท่าทางเฉพาะ เพื่อช่วยเคลื่อนตะกอนหินปูนเคลื่อนกลับเข้าที่เดิม

 
การฟื้นฟูระบบการทรงตัว (Vestibular Rehabilitation)

วิธีนี้จะเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการบ้านหมุนซ้ำ ๆ โดยแพทย์จะให้ผู้ป่วยทำกายภาพด้วยท่าทางบริหารร่างกายที่เป็นระบบหลากหลายรูปแบบ เพื่อฟื้นฟูประสาทส่วนที่มีหน้าที่ในการควบคุมการทรงตัว

การผ่าตัด

การผ่าตัดเป็นกรณีที่พบได้น้อย มักใช้เฉพาะผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาหรือการทำกายภาพ หรือมีปัญหามาจากสาเหตุบางอย่าง เช่น เนื้องอก หรือการได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะหรือคอ

ภาวะแทรกซ้อนของบ้านหมุน

อาการบ้านหมุนเพียงอย่างเดียวมักไม่ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนใด ๆ ที่ร้ายแรง หรืออาจเพียงทำให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตประจำวันลำบาก แต่ผู้ป่วยบางคน โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ อาจเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุและการหกล้ม ซึ่งอาจนำไปสู่การบาดเจ็บอื่น ๆ ได้ เช่น กระดูกสะโพกหัก หรือเกิดอุบัติเหตุจากการขับรถหรือการทำงาน

การป้องกันบ้านหมุน

เนื่องจากอาการบ้านหมุนเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ การป้องกันจึงทำได้ยาก ในเบื้องต้นอาจลดความเสี่ยงได้ด้วยการดูแลตนเองให้มีสุขภาพดีอยู่เสมอ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันบางอย่าง เช่น

    หลีกเลี่ยงหรือจำกัดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ และน้ำอัดลม เนื่องจากเครื่องดื่มเหล่านี้อาจมีสารที่ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงหูชั้นในได้น้อยลง
    นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกายทำงานได้อย่างเป็นปกติ
    เคลื่อนไหวอย่างระมัดระวัง ไม่รีบร้อนหรือทำอะไรที่รวดเร็วเกินไป
    ระวังการลื่นล้ม และการเกิดอุบัติเหตุรุนแรงกับศีรษะและสมอง เพื่อป้องกันอวัยวะที่ควบคุมระบบการทรงตัวภายในหูชั้นในได้รับความเสียหาย
    หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีรสเค็มมากเกินไป เนื่องจากความเค็มอาจส่งผลให้มีน้ำคั่งในร่างกาย และในหูชั้นในมากขึ้น ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนได้

 

Tage: โฟสฟรี ประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี google โพสต์ฟรี ลงประกาศขายบ้านฟรี ลงประกาศขายบ้าน ลงประกาศขายที่ดินฟรี ลงประกาศขายคอนโดฟรี ประกาศฟรี ขายฟรี ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google